top of page
โลโก้  น.ส. ทิวา ไม้แดง.jpg
แบนเนอร์-หมวด 5.png
รายละเอียด​
คำอธิบาย
หรือหลักฐาน หรือภาพถ่ายประกอบ
5.1 อากาศในสำนักงาน

5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน

      (1) มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ

เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) ขึ้นอยู่กับสำนักงาน

      (2) มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบตามแผนการดูแลบำรุงรักษา

      (3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ (1)

      (4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ (1)

      (5) การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (Printer)

ให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน

      (6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน

      (7) การป้องกันอันตรายจากการพ่นยากำจัดแมลง (ถ้ามี)

      (8)มีการสื่อสารแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจาก

กิจกรรมต่างๆ เพื่อระวังอันตราย (จากเอกสารหรือภาพถ่าย)

5.1.1-1 มาตรการและแผนบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ (ทุกปีในเดือนมกราคม) งานอาคารสถานที่ เป็นผู้รับผิดชอบ

5.1.1-2 มาตรการและแผนดูแลรักษาเครื่อง Printer โดยงานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เป็นผู้รับผิดชอบ และดูแลเครื่องทุกครั้งในการใช้งานโดยผู้ใช้เครื่องฯ

5.1.1-3 รณรงค์งดใช้ดอกไม้ปลอม เพิ่มต้นไม้ฟอกอากาศในห้องทำงาน

5.1.1.4 โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์และเครื่องถ่ายเอกสาร และการจัดวางให้ห่างจากผู้ใช้งานอย่างน้อย 2 เมตร

5.1.1-5 ป้ายจำกัดความเร็ว ๓๐ กม./ชม. และสื่อรณรงค์การจำกัดความเร็ว (Tiktok)

5.1.1-6 มีป้ายแจ้งเตือนเขตก่อสร้างและมีที่กั้นเพื่อป้องกันอันตรายและมลพิษทางอากาศ

5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด

       (1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่

       (2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ 

       (3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ 

       (4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน    รำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า-ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น

       (5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

5.1.3 การจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง/ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

 (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศจากการ

ก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคาร

 (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1)

แนวทางมาตรการมีดังนี้

        - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน

        - มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศที่จะส่งผลกระทบต่อพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

        - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อม

และระวังการได้รับอันตราย 

5.2 แสงในสำนักงาน

5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามมาตรฐานกำหนด

      (1) มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างประจำปีพร้อมแสดงหลักฐานผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างเฉพาะจุดทำงานและพื้นที่ทำงาน

      (2) เครื่องวัดความเข้ามของแสงสว่างจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)

      (3) ผลการตรวจความเข้มของแสงสว่างจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด

      (4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มข้นของแสงสว่างจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

5.3 เสียง

5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร

       (1) การกำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

       (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดัง

ที่มาจากภายในสำนักงาน

5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

       (1) การกำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร

       (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้

                - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้พนักงาน

                - มีการสื่อสารติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

5.4 ความน่าอยู่

5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้อง

ดำเนินการดังนี้

       (1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร

โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจพื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

       (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมทั้ง

พื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไปทังในอาคารและนอกอาคาร

       (3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไปทังในอาคารและ

นอกอาคาร

      (4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน

5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด

5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่พักผ่อน

หย่อนใจพื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด

        (1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะ

นำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ

และอื่น ๆ

       (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะ

นำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง

       (3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด

(เฉพาะตอนกลางวัน)

       (4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์

พาหะนำโรค

       (5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์พาหะนำโรคในระหว่างการตรวจประเมิน

5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด

       (1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ

       (2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกข้อมดับเพลิงขั้นต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของพนักงานแต่ละแผนกหรือส่วนงาน

       (3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (พิจารณาพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่อยู่ประจำพื้นที่สำนักงานที่มีการฝึกซ้อมเท่านั้น)

       (4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรมภาพถ่าย เป็นต้น

       (5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน

เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น

       (6) มีการกำหนดจุดรวมพลที่ สามารถรองรับได้พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน

       (7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน

       (8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมี

ป้ายแสดงอย่างชัดเจน

5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสมและร้อยละของ

พนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

5.5.3 ความเพียงพอและพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยและร้อยละของพนักงานทราบวิธีใช้และตรวจสอบ

อุปกรณ์ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

        (1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง ถังดับเพลิงมีเพียงพอ

ต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่างอย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตาม

กฎหมาย ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 150 เชนติเมตร นับจากคันบีบ

และถ้าเป็นวางกับพื้นจะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง

          - ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)

          - สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) (ถ้ามี)

       (2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อม

ใช้งาน

          - สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตร

หรืออาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)

          - ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector) หรือตัวตรวจจับ

ความร้อน (heat detector)

       (3) มีการตรวจสอบข้อ (1) - (2) และหากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข

       (4)  พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์

ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเตือน อย่าง  น้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่ม

สอบถาม

       (5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

bottom of page